ประวัติของกีฬายกน้ำหนัก จากการออกกำลังกายสู่การแข่งขันระดับโลก

ประวัติของกีฬายกน้ำหนัก จากการออกกำลังกายสู่การแข่งขันระดับโลก

 

ยกน้ำหนักเป็นหนึ่งในรูปแบบการออกกำลังกายที่ต้องมีอุปกรณ์สำคัญ คือ ลูกตุ้มน้ำหนักที่จะถูกทำขึ้นมาให้สามารถยกได้อย่างสมดุลด้วยน้ำหนักเท่ากันทั้ง 2 ด้าน การยกต้องใช้แขนทั้งสองข้างและถ่ายเทน้ำหนักให้เท่ากัน เพื่อทำให้เกิดความแข็งแรงเท่าเทียมกัน จึงถือว่าเป็นตัวช่วยในการออกกำลังกายช่วงท่อนแขนและหน้าอกได้เป็นอย่างดี มาสู่การเป็นกีฬาที่มีการแข่งขันไปทั่วโลกและในประเทศไทยกีฬายกน้ำหนัก ยังถือว่าเป็นหนึ่งในความโดดเด่น ที่เคยคว้าเหรียญทองในโอลิมปิกมาหลายสมัยเลยทีเดียว

 

weightlifting

 

ประวัติความเป็นมาของกีฬายกน้ำหนัก

ประวัติกีฬายกน้ำหนักถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคกรีก ช่วงปี ค.ศ.1896 แต่จะมีลักษณะแตกต่างไปจากรูปแบบปัจจุบัน โดยจุดประสงค์หลักของการก่อกำเนิดกีฬายกน้ำหนัก คือ เรื่องของการสร้างพระกำลังร่างกายให้แข็งแกร่งและเป็นการท้าทายคู่ต่อสู้ รวมไปถึงการแข่งขันของผู้ชายภายในชนเผ่าที่จะทำให้เห็นว่าผู้ใดมีสิทธิ์จะขึ้นเป็นผู้นำของหมู่บ้านหรือชนเผ่า ดังนั้นการยกน้ำหนักจึงถือว่าเป็นการออกกำลังเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและพละกำลังของผู้ชายในยุคนั้น แต่จะไม่ใช้เป็นลูกตุ้มเหล็กอย่างในปัจจุบัน เพราะจะเป็นการยกหิน, ยกลูกวัว, ยกถุงทราย, ยกเหล็ก หรือยกวัสดุต่าง ๆ ที่มีน้ำหนักมาก ยิ่งใครยกได้ด้วยสิ่งของหรือสัตว์ที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักสูงมากเท่าไหร่ ผู้นั้นก็จะเป็นที่สนใจของคนในชนเผ่าและถูกยกย่องให้เป็นผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดนั่นเอง 

ตามบันทึกของกรีกในยุคโบราณจะระบุไว้ว่าผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดของยุคสมัย คือ มิโลจากชนเผ่าโคตัน เพราะสามารถเอาชนะโอลิมปิกโบราณกรีกได้ด้วยการแบกลูกวัวตัวใหญ่บนบ่าที่มีน้ำหนักมาก นอกจากนี้การวัดพละกำลังด้วยการยกน้ำหนักยังมีประโยชน์กับกองคาราวานที่ทำเกี่ยวกับละครสัตว์ แล้วจะต้องตระเวนไปตามเมืองต่าง ๆ เพื่อเปิดแสดง จึงต้องการได้ผู้ชายที่แข็งแกร่งมายกของหนักในการขนย้าย จึงทำให้เจ้าของคณะละครสัตว์ใช้วิธีการยกน้ำหนักเพื่อดูว่าผู้ใดจะเหมาะสมต่องานนี้ ดังนั้นจึงมีคาดการณ์จากนักประวัติศาสตร์ว่าการถือกำเนิดของดัมเบลและลูกตุ้มน้ำหนัก น่าจะถูก คิดค้นในช่วงเวลาที่คณะละครสัตว์เริ่มได้รับความนิยม เพราะนอกจากจะเป็นตัววัดพละกำลังของผู้ที่จะเข้ามาช่วยยกของภายในคณะละครสัตว์แล้ว ยังเป็นหนึ่งในการแสดงที่สามารถดึงดูดผู้คนให้เข้ามาซื้อบัตรเพื่อชมความแข็งแกร่งในการยกลูกตุ้มน้ำหนักของผู้ที่มีพละกำลังสูงอีกด้วย

 

weightlifting1

 

กติกาของกีฬายกน้ำหนัก

กติกากีฬายกน้ำหนักจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ข้อหลัก คือ กติกาของการแข่งขัน, กติกาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย และกติกาของการยกน้ำหนักที่สามารถแตกรายละเอียดออกมาได้ ดังต่อไปนี้

1.กติกาของการแข่งขัน

สำหรับกติกาของการแข่งขันกีฬายกน้ำหนักจะอนุญาตให้นักกีฬาสามารถจับคานของน้ำหนักแล้วยกด้วยการใช้วิธีฮุคได้ ซึ่งวิธีการในลักษณะนี้ คือ การจับคันยกขึ้นแล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไปที่คานเพื่อจับคานยกขึ้น หรือจะใช้วิธียกตามปกติก็สามารถทำได้ แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีการยกแบบใดก็ตาม ถ้ายกขึ้นมาแล้วไม่สำเร็จ ไม่สามารถค้างอยู่กับที่ตามเวลาการแข่งขันกำหนดไว้ได้หรือยกแล้วดึงคานขึ้นจากระดับเข่าไปถึงบ่าและจากระดับบ่ายกขึ้นสูงสุดไม่ได้ก็จะถูกตัดสิทธิ์ว่าไม่ผ่านทันที นอกจากนี้ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเหยียดแขนให้ตรงสุดและอยู่ในท่าตรง สรีระจะต้องไม่บกพร่องหรือเคลื่อนที่อีก ให้รอสัญญาณธงอีกครั้งแล้วจึงจะเอาคานลงได้ สำหรับการแข่งขันจะไม่อนุญาตให้ใช้น้ำมันหรือแป้งใด ๆ ทาที่ช่วงหน้าขาเพื่อให้ลื่นเด็ดขาด แต่จะอนุญาตให้ทาผงกันลื่นแค่เพียงที่ฝ่ามือและหน้าขาเท่านั้น

2.กติกาของการเคลื่อนไหว

สำหรับกติกากีฬายกน้ำหนักเรื่องการเคลื่อนไหวนั้นจะมีการบ่งบอกถึงกติกาท่าที่ไม่ถูกต้องและห้ามทำในการแข่งขันเด็ดขาด เช่น 

  • การดึงด้วยท่าแขวนที่เป็นการดึงขึ้นแบบ 2 รอบ 
  • การสัมผัสพื้นจะต้องทำได้แค่เพียงเท้าเท่านั้น ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายห้ามสัมผัสพื้นเด็ดขาด 
  • แขนทั้งสองข้างต้องเหยียดตรงและเหยียดให้สุด 
  • การหยุดชะงักระหว่างการเหยียดแขนทั้งสองข้างจะถือว่าผิด เมื่อสิ้นสุดการยกแล้วมีการดันแขนขึ้นก็ถือว่าผิดด้วยเช่นกัน 
  • เมื่อยกแล้วจะต้องยืนตรงอยู่กับที่ ถ้าเดินหรือวิ่งออกนอกพื้นที่จะถือว่าแพ้ทันที 
  • การวางคานลงจะต้องดูที่สัญญาณธงเท่านั้น 
  • การทิ้งคานยกลงพื้นจะต้องทิ้งไปทางด้านหน้าหรือด้านหลัง เมื่อได้สัญญาณเป็นที่เรียบร้อยแล้วเท่านั้น 
  • จะสิ้นสุดการยกได้ต่อเมื่อเท้าทั้ง 2 ข้างจะต้องอยู่ในแนวระนาบเดียวกับลำตัว

3.กติกาของท่าการยกน้ำหนัก

สำหรับกติกาที่เกี่ยวข้องกับท่ายกจะมีดังต่อไปนี้ 

  • ถ้าใช้เป็นท่าสแนทช์ ไม่ควรหยุดชะงักในระหว่างการยกขึ้นและคานยกจะต้องไม่สัมผัสศีรษะเด็ดขาด 
  • การยกและทาคลีน จะต้องมีการวางคานยกบนช่วงหน้าอกก่อนที่จะพลิกข้อศอกขึ้น แต่ถ้ายกแล้วขึ้นเลยจะถือว่าผิด การยกที่ถูกต้องข้อศอกและต้นแขนจะต้องไปสัมผัสที่หัวเข่าหรือต้นขาเด็ดขาด 
  • การยกด้วยท่าเจิคจะต้องไม่เขย่าหรือสั่นคานเด็ดขาด ในขณะที่กำลังจะยกขึ้นนักกีฬาจะต้องนิ่งและไม่ขยับตัวหรือเคลื่อนไหวร่างกายเด็ดขาด

 

weightlifting2

 

ถ้าคุณสนใจการยกน้ำหนักและต้องการเป็นนักกีฬา ที่สามารถลงแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับโลกได้ คุณควรมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและมีความระมัดระวังในการใช้ท่าทางต่าง ๆ ของการยกน้ำหนัก รวมไปถึงการมีผู้ฝึกสอนเฉพาะตัว เพื่อทำให้การเข้าแข่งขันประสบความสำเร็จได้ด้วยดีและเกิดความปลอดภัยในการฝึกฝนมากที่สุด