ประวัติของยิมนาสติก งดงามด้วยท่วงท่าพลิ้วไหว พร้อมเสริมร่างกายให้แข็งแรง

ประวัติของยิมนาสติก งดงามด้วยท่วงท่าพลิ้วไหว พร้อมเสริมร่างกายให้แข็งแรง

 

ยิมนาสติกมีจุดกำเนิดที่ยังไม่มีการระบุเด่นชัด แต่เกิดข้อสันนิษฐานขึ้นมาว่าอาจจะเป็นในช่วงของสมัยกรีกโบราณ เพราะประเทศกรีกนั้นถือว่าเป็นประเทศแรกที่มีบทบาทต่อกีฬาประเภทนี้เป็นอย่างมากและคำว่ายิมนาสติกนั้นก็ยังเป็นภาษาของทางประเทศกรีกในยุคโบราณอีกด้วย ซึ่งมีผู้ที่สนใจหลายคนรู้สึกสงสัยว่ายิมนาสติกคืออะไรและมีหัวใจหลักเป็นอย่างไรกันแน่? สามารถตอบได้อย่างชัดเจนว่าเป็นศิลปะแห่งความพลิ้วไหวและในภาษากรีกยังหมายถึงการเป็นศิลปะแห่งความเปลือยเปล่า ไร้ซึ่งอุปกรณ์ใด ๆ อีกด้วย

 

gymnastic

 

ประวัติความเป็นมาของยิมนาสติก

ยิมนาสติก ประวัติถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ ซึ่งในยุคนั้นชาวกรีกจะนิยมออกกำลังกายในรูปแบบศิลปะการต่อสู้ การบริหารร่างกายให้มีความแข็งแรง มีการเล่นผาดโผน การวิ่ง และการไต่เชือก กีฬายิมนาสติกจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่จะมีความแตกต่างไปจากกีฬาประเภทอื่น ตรงที่เป็นการละเล่นที่จะมีเครื่องแต่งกายน้อยมากและอาจจะถึงขั้นไม่สวมใส่เลยอีกด้วย เพราะต้องการให้อวดรูปร่างได้อย่างชัดเจนหรือถ้าเป็นชุดจะต้องมีความแนบเนื้อ กระชับ เพื่อทำให้การแสดงลีลาและท่าทางต่าง ๆ มองเห็นได้อย่างชัดเจนในทุก ๆ มุมเมื่อมีการแข่งขัน ถ้าใครเป็นผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัลและจะให้เกียรติด้วยการสร้างรูปปั้นไว้ที่บริเวณยิมเนเซียม ซึ่งถือว่าเป็นความยิ่งใหญ่ของกีฬาประเภทนี้ โดยในอดีตจะเป็นกีฬาแบบกลางแจ้งที่จะเล่นภายในสนามกีฬาที่มีขนาดใหญ่และมีชื่อเสียง ทั้งยังมีคนเข้าชมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก จากนั้นยิมนาสติกก็ถูกระบุให้กลายเป็นกิจกรรมด้านกีฬาที่ส่งเสริมให้คนทั่วไปได้เล่นกันมากขึ้น 

ชาวโรมันนำยิมนาสติกมาเพื่อฝึกแก่ทหาร เพราะต้องการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับร่างกาย แต่หลังจากการที่อาณาจักรของโรมันได้ล่มสลายลง กิจกรรมด้านการออกกำลังด้วยยิมนาสติกจึงกลับกลายมาเป็นกีฬาที่ได้รับความสนใจมากขึ้นและมีชื่อเสียงโด่งดังในยุคกลางช่วงศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา จึงได้มีการฟื้นฟูกีฬายิมนาสติกให้กลับมาเป็นกิจกรรมหลักของการฝึกฝนเด็ก ๆ และผู้ใหญ่มาจนถึงปัจจุบัน ช่วงปี พ.ศ. 2266 นายโจฮัน เบสโดว์ของประเทศเยอรมนี ได้บรรจุกีฬาประเภทนี้เข้าสู่การเรียน-การสอนของโรงเรียน 

จนกระทั่งในช่วงปี พ.ศ. 2302 นายนายโจฮัน กัตส์ มัธส์ ได้นำกีฬายิมนาสติกมาเล่นและบรรจุเข้าสู่หลักสูตรของโรงเรียน พร้อมการส่งเสริมให้เด็กในโรงเรียนได้ฝึกอย่างจริงจัง จนกระทั่งได้รับฉายาว่าคุณปู่แห่งวงการยิมนาสติกและเมื่อปี พ.ศ. 2321 อาจารย์เฟรดริค จาน ชาวเยอรมันได้มีการคิดค้นยิมนาสติกลีลา อุปกรณ์ โดยคิดค้นออกมาเป็นราวเดี่ยว, ราวคู่, ไม้ยาว, ม้ายาวชนิดสั้น, ม้าหู และหีบบกระโดดเพิ่มเติม เพื่อทำให้การเล่นมีความแข็งแรงและสนุกมากขึ้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2545 จึงได้มีการฝึกอย่างจริงจังจนสร้างเป็นโรงยิมนาสติกไว้เพื่อการเรียนการสอนกีฬาประเภทนี้โดยเฉพาะ ทั้งยังได้รับเงินสนับสนุนจากทางรัฐบาล ดังนั้นกีฬายิมนาสติกในเยอรมันจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

 

gymnastic1

 

กติกาของยิมนาสติก

สำหรับกติกาของกีฬายิมนาสติกที่ถูกทำขึ้นมาเพื่อให้เป็นสากล สามารถใช้ได้กับทุกประเทศทั่วโลกและทุกการแข่งขัน จะเน้นเรื่องของจังหวะการผสมผสานกันระหว่างร่างกาย ท่าทาง ความยืดหยุ่น ความอ่อนตัว และความคล่องแคล่วไปพร้อมกับเสียงเพลง โดยจะมีกติกาฉบับย่อดังต่อไปนี้

  • การแข่งขันยิมนาสติกแบบอุปกรณ์ชายจะมีให้เล่นห่วงนิ่ง, ม้ากระโดด, ม้าหู, บาร์คู่ และบาร์เดี่ยว ซึ่งจะต่างกับอุปกรณ์ของประเภทหญิงที่จะมีการแข่งขันเพียงแค่ราวทรงตัว, บาร์ต่างระดับ และม้ากระโดด 
  • กรรมการภายในการแข่งขันจะมีทั้งหมด 4 คน และกรรมการผู้ชี้ขาดอีก 1 คน ถ้าเป็นประเภทชายเดี่ยวในรอบชิงชนะเลิศกรรมการชี้ขาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 คน 
  • คะแนนของนักกีฬาทั้งหมดจะตัดสินจากทางกรรมการ จะมีการตัดคะแนนสูงสุดและต่ำสุดออกไป จากนั้นจะนำคะแนนกลางมาทำการหาค่าเฉลี่ยที่จะมีคะแนนเริ่มต้น 0 ไปจนถึง 10 คะแนน และจะมีการให้คะแนนพิเศษเพิ่มเติม 
  • การแข่งขันยิมนาสติกประเภททีมจะมีทั้งหมด 6 คน โดยจะแข่งในอุปกรณ์ที่แตกต่างกันและจะมีทั้งท่าสมัครกับท่าบังคับ 
  • เมื่อนำคะแนนมารวมกันแล้ว สมาชิกภายในแต่ละทีมจะต้องมีคะแนนสูงสุดที่ 5 คนขึ้นไป จึงจะมีโอกาสชนะ 
  • การแข่งขันอุปกรณ์รวม ประเภททีมจะต้องมีทั้งหมด 3 คน และคะแนนของทั้ง 3 คน จะถูกนำมารวมกันเพื่อหาค่าเฉลี่ยต่อไป 
  • การแข่งขันประเภทบุคคลจะคัดเฉพาะผู้ที่มีคะแนนสูงสุดของแต่ละยิมนาสติกลีลา อุปกรณ์ หรือของแต่ละประเภทการแข่งขัน มาเป็นผู้ชนะเท่านั้น 
  • การแข่งขันแบบลีลาใหม่ที่มีเสียงดนตรีในการประกอบ จะเน้นเรื่องทักษะทางร่างกาย จังหวะของดนตรี ลีลาที่มีความสวยงาม พลิ้วไหว และเข้ากับจังหวะดนตรี 
  • การแข่งขันแบบมีอุปกรณ์ของยิมนาสติกลีลาใหม่ จะมีอุปกรณ์ให้เลือก 5 ชิ้นด้วยกัน คือ ริบบิ้น, ลูกบอล, โยนห่วง และเชือก สามารถเลือกสีได้ทุกรูปแบบ แต่จะยกเว้นสีเงิน, สีทอง และสีแดง 
  • ดนตรีถือว่ามีความสำคัญต่อตัวนักกีฬา จึงจำเป็นจะต้องใช้ดนตรีที่มีจังหวะของความเคลื่อนไหวที่ดี ทำให้การแสดงออกมากลมกลืนและให้อารมณ์ที่ตรงไปกับดนตรี จะต้องเน้นเป็นดนตรีบรรเลงเพียงแค่ชิ้นเดียวเท่านั้น 
  • การแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ การแข่งขันประเภทบุคคลกับการแข่งขันประเภททีม 
  • การแข่งขันจะรวมเป็น 10 คะแนน แต่จะถูกแบ่งคะแนนเป็น 2 ส่วน โดยในส่วนแรกจะเป็นคะแนนของท่าประกอบที่มีเทคนิคจะได้รับ 3 คะแนน และในส่วนที่ 2 จะเป็นเรื่องของคะแนนลำดับท่าที่เรียงมาอย่างถูกต้องและมีความสัมพันธ์ของท่าทางกับดนตรีอย่างครบถ้วน 
  • ถ้ามีการใช้ท่าเทคนิคประกอบจะได้ที่ 7 คะแนน และถ้าเป็นการแข่งขันแบบประเภททีมคะแนนเต็มจะอยู่ที่ 20 คะแนนและกรรมการจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อให้กลุ่มละ 10 คะแนน

 

gymnastic2

 

ผู้ที่ชื่นชอบจะรู้ดีว่ายิมนาสติกเป็นกีฬาแห่งความงดงาม เพราะด้วยการแสดงออกถึงท่วงท่าที่มีความพลิ้วไหว ผสานไปกับดนตรี พร้อมการทำให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยเพิ่มทักษะของการเคลื่อนไหวร่างกายที่ดีกว่าผู้คนทั่วไป ดังนั้นจึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งกีฬาที่คนต้องการรักษารูปร่างไม่ควรมองข้าม

 

 

สนับสนุนโดย sa-game.bet