คริกเกตกีฬาที่มีเสน่ห์เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมายาวนาน

คริกเกตกีฬาที่มีเสน่ห์เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมายาวนาน

 

คริกเกต (Cricket) เป็นกีฬายอดนิยมในอินเดียที่มีต้นกำเนิดมาจากอังกฤษ แม้ว่ากีฬาชนิดนี้คนไทยอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยแต่ที่ประเทศอินเดียและอีกหลายๆ ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย บังคลาเทศ อังกฤษ ถือว่าได้รับความนิยมสูงมากสำหรับผู้คนทุกเพศทุกวัย ความสนุกของกีฬาชนิดนี้คือการเล่นแบบเป็นทีมและการแข่งขันที่ยาวนานแบบมาราธอน เช่น 3-4 วันจึงจะรู้ผลแพ้ชนะ โดยมีประวัติความเป็นมาดังต่อไปนี้

cricket

ประวัติความเป็นมาของกีฬาคริกเกต

ประวัติกีฬาคริกเกต กล่าวไว้ว่าคริกเกต เป็นกีฬาเก่าแก่ที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศอังกฤษก่อนฟุตบอล ราวๆ เมื่อหลายร้อยปีก่อนในยุคล่าอาณานิคมของอังกฤษ จึงทำให้กีฬาชนิดนี้ถูกเผยแพร่ไปในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ที่ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นกีฬายอดนิยมของผู้คนในประเทศมาจนถึงทุกวันนี้ เรียกได้ว่า คริกเกต คือกีฬาที่อยู่ในสายเลือดของชาวอินเดียเลยก็ว่าได้

มีหลักฐานจากประวัติคริกเกต บันทึกว่ากีฬาชนิดนี้มีการเผยแพร่สู่อนุทวีปอินเดีย ราวๆ ปี ค.ศ. 1721 ตามบันทึกของลูกเรือชาวอังกฤษข้อความว่าได้มีการเล่นคริกเกตกันบริเวณอ่าวขัมภัต (Cambay) ต่อมาในปี ค.ศ. 1792 อังกฤษ ได้มีการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลและคริกเกตกัลกัตตาขึ้นในเมืองกัลกัตตา (Culcatta) ในยุคนั้นกีฬาชนิดนี้ได้ถูกยกย่องให้เป็น ที่กีฬาแห่งความสง่างามเปี่ยมไปด้วยพลังความอดทนเพราะการแข่งขันแบบดั้งเดิม (Test Cricket) ต้องใช้เวลาในการแข่งขันยาวนานถึง 5 วัน จากเช้าถึงเย็น

cricket2

ว่าด้วยกติกาการเล่นคริกเกต

หลักการคร่าวๆ ของกติกาคริกเกต ก็คือจะเล่นเป็นทีม ทีมละ 11 คน ทีม A มีผู้เล่นคนหนึ่งเป็นผู้ขว้างลูกเรียกว่า โบว์เลอร์ (Bowler) ขว้างลูกไปยังไม้ที่ตั้งไว้บนสนามสามอัน เรียกว่าวิคเก็ต (Wickets) โดยทีม B จะมีผู้เล่นมาป้องกันไม้สามอันนี้เรียกว่าแบตส์แมน (Batsman) และไม้ที่ถือตีลูกเรียกว่าไม้แบต (Bat) เมื่อตีโดนลูกก็จะวิ่งวนไปเพื่อเอาแต้ม เรียกว่ารันส์ (Runs) จนกว่าผู้เล่นของทีม A ที่อยู่ในสนามในตำแหน่ง fielders จะนำลูกกลับมาได้

ในเกมการแข่งขันหนึ่งจะมีอย่างน้อย 1 อินนิ่ง ซึ่งจะแข่งขันกันระหว่าง 2 ทีม โดยมีการเลือกกันว่าทีมไหนจะเริ่มเล่นก่อนและสามารถเลือกว่าจะเป็น “ทีมรับ” หรือ “ทีมตี” ก็ได้

ทีมตี เลือกผู้ล่นสองคนลงสนาม เป็นผู้ตีคนที่ 1 และ 2 โดยผู้ตีคนที่ 1 จะยืนอยู่บนเส้นด้านหน้าวิคเก็ต ฝั่งหนึ่ง และผู้ตีคนที่ 2 จะยืนอยู่ด้านข้างซ้ายหรือขวาก็ได้ที่ฝั่งตรงข้ามกับผู้ตีคนที่ 1

cricket3

ส่วนทีมรับ ผู้เล่นทั้ง 11 คน จะลงสนามตามตำแหน่งดังนี้

ผู้ขว้าง (Bowler) จะยืนหลังวิคเก็ต ที่ตำแหน่งหลังกรรมการคนที่ 1

 

แบตส์แมน (Batsman) ยืนหลังวิคเก็ต ฝั่งเดียวกับผู้ตีฝั่งตรงข้ามคนที่ 1

ในขณะที่ผู้รับ อีก 9 คน จะยืนในสนามตำแหน่งใดก็ได้แต่ต้องอยู่นอกลาน Pitch

เมื่อเริ่มแข่ง ทีมตี โดยมือตีคนที่ 1 ทำหน้าที่ตีบอลที่ “ผู้ขว้าง” ขว้างไปในทิศทางใดก็ได้ถ้าตีลูกโดนจะต้องรีบวิ่งให้เข้ามาในเส้นของอีกฝั่งก่อนที่ “มือขว้าง” จะรับลูกบอลแล้วโยนลูกบอลกลับมาทำลายวิคเก็ต ได้ มือตีทั้งสองจะวิ่งสวนกันเพื่อเก็บคะแนน ก่อนที่วิคเก็ต จะถูกจู่โจม ซึ่งหากทำสำเร็จ มือตีฝั่งวิคเก็ตจะต้องออกจากการแข่งขัน (Run out) ไม่สามารถกลับได้อีก ต้องส่งมือตีคนใหม่มาแทน

ทีมรับ มือขว้างจะมีหน้าที่ขว้างบอลเพื่อทำลายวิคเก็ตซึ่งมีผลให้ผู้เล่นในทีมตีต้องออกจากสนามไป บอลที่ขว้างต้องกระทบบนลาน Pitch หนึ่งครั้งก่อนที่บอลจะลอยไปถึงเป้าหมาย ถ้ามือขว้างขว้างเสียจะทำให้อีกฝ่ายได้คะแนน เช่น ลูกขว้างเสีย 1 ลูก จะได้ 1 คะแนน เมื่อมือขว้าง ขว้างลูก 6 ครั้งเรียกว่า 1 โอเวอร์ (Over) ซึ่งแต่ละเกมจะมีการกำหนดไว้ก่อนว่าจะเล่นกันกี่โอเวอร์

ระหว่างการแข่งขัน แบตส์แมน (Batsman) มีหน้าที่รับหรือหยุดบอลจากมือขว้าง ถ้ามือตีตีลูกพลาดรวมทั้งคอยรับลูกที่ถูกตีโดยไม่ให้ลูกกระทบพื้นด้วย

มือตีของทีมตีจะต้องออกจากการแข่งขันโดยทีมรับภายใต้เงื่อนไขคือ

-ขว้างโดนวิคเก็ต

-รับบอลที่ถูกตีที่ได้ก่อนจะตกถึงพื้น

-ทีมรับสามารถเก็บบอลได้และใช้ลูกบอลทำลายวิคเก็ตก่อนที่มือตีจะวิ่งถึงเขตปลอดภัย

การทำคะแนน

-มือขว้าง ขว้างเสีย 1 ลูก เท่ากับเสีย 1 คะแนน

-การวิ่งสวนกันของมือตีเพื่อทำคะแนน 1 รอบเท่ากับ 1 คะแนน

-ตีโดนบอลและบอลตกในเขตสนามแล้วกลิ้งออกนอกเขตสนามได้ 4 คะแนน

-ตีโดนบอลและบอลลอยออกนอกเขตสนาม ได้ 6 คะแนน

การจบอินนิ่งจะจบเมื่อครบจำนวนโอเวอร์ที่กำหนดไว้ แล้วเริ่มอินนิ่งที่ 2 โดยมีการสลับทีมรับเป็นทีมตีและทีมตีเป็นทีมรับและทีมตีเปลี่ยนเป็นทีมรับหลังจากนั้นฝ่ายใดทำคะแนนได้สูงกว่าเป็นฝ่ายชนะ

ประโยชน์และข้อดีของกีฬาคริกเกต

ประโยชน์ของคริกเกต ที่ให้ได้เด่นชัดที่สุดก็คือ ฝึกการเล่นกีฬาเป็นทีมและยังเป็นกีฬาที่ต้องใช้ทักษะหลายๆ ด้านผสมผสานกัน ทั้งเรื่องของปฏิภาณไหวพริบ ความอดทน การวางแผนเป็นทีมซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกีฬาคริกเกต ที่สำคัญอีกอย่างคือ ข้อดีในเรื่องของสุขภาพพลานามัยให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอนั่นเอง