วิธีการแข่งเรือยาว การแข่งขันที่กลายเป็นประเพณีอันเลื่องชื่อ

วิธีการแข่งเรือยาว

จากวิถีชีวิตและความศรัทธาสู่เกมกีฬาที่มีมนต์ขลัง แล้วส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นมาหลายร้อยปี ประเพณีแข่งเรือยาวจึงเป็นมากกว่าการแข่งขันเพื่อคว้าชัยชนะ แต่สะท้อนถึงรากเหง้าของคนไทยที่มีความผูกพันกับสายน้ำ และมีศิลปวัฒนธรรมอันงดงาม ทุกอย่างถ่ายทอดผ่านลำเรือที่ตั้งใจตกแต่งไว้ให้ทุกคนได้ยลโฉมพร้อมกันในวันแข่ง ความสำคัญของการแข่งเรือยาวจึงไม่ใช่แค่สัญลักษณ์ของประเพณีโบราณอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงคนหลายกลุ่มเข้าด้วยกัน เสริมสร้างความสามัคคี และดึงดูดความสนใจจากผู้คนทั่วโลกได้ดี ทุกปีจะมีคำถามจากนักท่องเที่ยวว่า ประเพณีแข่งเรือ ภาคอะไร และ แข่งเรือยาว จังหวัดอะไร อยู่เสมอ เพราะนอกจากต้องการไปสัมผัสบรรยากาศจริงด้วยตัวเองแล้ว ยังต้องการเก็บภาพสวยๆ ที่มีให้เห็นแค่ปีละครั้งอีกด้วย

ประเพณีแข่งเรือยาว วิธีการแข่งเรือยาว ประวัติจากสมัยโบราณถึงยุคปัจจุบัน

มีหลักฐานหลายชิ้นทั้งที่เป็นบันทึกของคนไทยและชาวต่างชาติ ระบุเกี่ยวกับประวัติเรือยาวเอาไว้ว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แม้จะระบุต้นกำเนิดที่ชัดเจนไม่ได้แต่ก็เชื่อได้ว่าต่อยอดมาจากประเพณีทางด้านศาสนา เพราะในฤดูน้ำหลากชาวบ้านจะว่างจากงานในเรือกสวนไร่นา และเตรียมตัวสำหรับงานบุญเข้าพรรษา งานบุญผ้าป่า งานบุญกฐิน งานบุญลากชักพระ และบุญใหญ่อีกหลายงาน ซึ่งในสมัยก่อนก็จะใช้เรือเป็นพาหนะหลักในการเดินทาง บ้างก็พาชาวบ้านไปตักบาตรเทโว บ้างก็นำองค์กฐินไปวัด พร้อมกับมีการตกแต่งลำเรือให้สวยงามสะดุดตา

เมื่อเสร็จสิ้นจากงานบุญและพิธีกรรมต่างๆ ความสนุกสนานจึงตามมา มีตั้งแต่การแสดงฝีไม้ลายมือของฝีพาย การเล่นเพลงเรือที่มีการร้องตอบโต้กันไปมา แล้วก็มีการกำหนดวิธีการแข่งเรือยาวขึ้นเพื่อสร้างบรรยากาศให้ครึกครื้น ยุคแรกจะแบ่งกลุ่มแข่งเรือเป็นคุ้มต่างๆ แข่งกันแค่หมู่บ้านใกล้เคียง เน้นความสนุกมากกว่าการวัดผลแพ้ชนะอย่างเอาเป็นเอาตาย ยุคต่อมาจะรู้จักกันในชื่อ “ยุคทำสาว” คือเน้นเอาเรือเก่ามาดัดแปลงเพื่อลงแข่งใหม่ จากจุดนี้ทำให้วิธีการแข่งเรือยาวได้รับความนิยมแพร่หลาย และขอบเขตการแข่งก็ขยายกว้างขึ้น จนเป็นกีฬาที่แข่งขันกันในระดับนานาชาติเช่นปัจจุบัน

วิธีการแข่งเรือยาว

ความสำคัญของการแข่งเรือยาวที่มากกว่าความสนุกสนาน

อย่างที่ได้เกริ่นไปข้างต้นแล้วว่า ประเพณีแข่งเรือยาว ประวัติแรกเริ่มนั้นเชื่อมโยงกับศาสนาและวิถีชีวิตของผู้คนกับสายน้ำ ความสำคัญของการแข่งเรือยาวจึงไม่ใช่แค่เพื่อความบันเทิง ไม่เช่นนั้นคงไม่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม 

  • วิธีการแข่งเรือยาวเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนรักใคร่สามัคคีกัน รู้จักช่วยเหลือและมีน้ำใจนักกีฬา เวลาแข่งก็ทำเต็มที่ เวลาผลแพ้ชนะออกมาก็ยอมรับอย่างมีสปิริต
  • ลำเรือแต่ละลำจะแฝงศิลปะประจำท้องถิ่นเอาไว้ ซึ่งบอกเล่าอะไรได้หลายอย่าง ตั้งแต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่นั้นๆ ไปจนถึงลักษณะนิสัยของผู้คน
  • กิจกรรมแข่งเรือช่วยส่งเสริมผู้คนในชุมชนที่มีความสามารถเฉพาะทาง เช่น ศิลปิน ช่างไม้ ช่างเครื่อง เป็นต้น นับว่าเป็นการเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้แสดงฝีมืออย่างเต็มที่ 
  • เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญหาชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับการ “ขุดเรือ” ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ละเอียดอ่อน ส่งต่อกันมาจากรุ่นปู่ย่า และยังมีเคล็ดลับเฉพาะของแต่ละครอบครัวอีกด้วย นี่จึงไม่ใช่เรื่องที่จะหาเรียนกันได้ง่ายๆ
  • ถ้ามองความสำคัญของการแข่งเรือยาวในระดับประเทศ ก็คือเป็นวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็น Unseen ที่มีในเมืองไทยที่เดียว พอมัดใจนักท่องเที่ยวได้ก็จะเกิดประโยชน์หลายอย่างในทางเศรษฐกิจ ช่วยสร้างงานและกระจายรายได้สู่ชุมชนต่อไป 

กติกาและวิธีการแข่งเรือยาวในแต่ละยุค

เนื่องจากหัวใจสำคัญของการแข่งเรือยาวคือการวัดความเร็ว ซึ่งความเร็วที่ว่านี้มาก็มีผลมาจากการวางแผนที่ดี การเตรียมเรือที่ดี และความสามัคคีของฝีพายทุกคน ดังนั้นรูปแบบการแข่งขันจากประวัติเรือยาวในอดีตจนถึงปัจจุบันจึงไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แค่ปรับบางส่วนให้สะดวกมากขึ้นหรือมีความน่าสนใจมากขึ้นเท่านั้นเอง วิธีการแข่งเรือยาว แบบดั้งเดิมจะเน้นการตกแต่งลำเรือให้วิจิตร โดยมากจะใช้ฝีพายตั้งแต่ 40-50 คน ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องลงแข่งพร้อมกันกี่ลำเรือ ด้วยว่าสมัยก่อนไม่ได้มีผู้ร่วมแข่งขันมากเท่ากับปัจจุบัน แค่ไม่ล้นน่านน้ำก็เป็นอันใช้ได้ ทั้งหมดจะต้องแข่งกัน 2 รอบและมีการสลับทิศของกระแสน้ำกันด้วย หากผลัดกันแพ้และชนะก็ต้องตัดสินด้วยการแข่งรอบที่ 3

ส่วนวิธีการแข่งเรือยาวในปัจจุบันจะแบ่งรุ่นการแข่งขันตามจำนวนฝีพายเป็น 4 ประเภท ได้แก่ เรือยาว 55 ฝีพาย เรือยาว 40 ฝีพาย เรือยาว 30 ฝีพาย และเรือยาว 10 ฝีพาย สนามแข่งก็มีการกำหนดลู่ชัดเจน ตามมาตรฐานสากลจะให้มีเพียงแค่ 4 ลู่ แล้วแบ่งสายแข่งขันแบบคัดออก ซึ่งจะมีการแข่งขันรอบแก้ตัวให้กับลำเรือที่ตกรอบด้วย แน่นอนว่าเมื่อเป็นเกมกีฬาที่แข่งขันกันอย่างจริงจังแล้ว ก็จะต้องมีกฎให้นักกีฬาทุกคนปฏิบัติร่วมกัน เช่น ห้ามดัดแปลงลำเรือระหว่างแข่งขัน ห้ามพายเรือออกนอกลู่ของตัวเอง ห้ามกีดขวางลำเรืออื่นในลักษณะจงใจ เป็นต้น

วิธีการแข่งเรือยาว

ประเพณีเรือยาว 4 ภาค เสน่ห์ประจำถิ่นที่แตกต่าง

มาถึงตรงนี้ถ้าอยากรู้แล้วว่า ประเพณีแข่งเรือ ภาคอะไร แข่งเรือยาว จังหวัดอะไร หรือมีกิจกรรมแข่งขันกันเมื่อไร ก็ต้องบอกก่อนว่าวิธีการแข่งเรือยาวตามประเพณีดั้งเดิมนั้นหาดูได้ยากมากแล้ว เว้นแต่จะมีการจัดพิธีสำคัญขึ้น แต่ถ้าต้องการสัมผัสความสนุกของเรือยาวรุ่นใหม่ๆ กับเสียงพากย์สุดเร้าใจ ก็มีประเพณีแข่งเรือมาแนะนำให้ถึง 4 ภาค สนใจหรือสะดวกที่ไหนก็ไปกันได้เลย

ภาคเหนือตอนบน

ด้วยว่าทางภาคเหนือมีแม่น้ำใหญ่ไหลผ่านหลายสาย จึงมีการจัดประเพณีแข่งเรือหลายที่ ซึ่งก็มีการกำหนดวิธีการแข่งเรือยาวที่แตกต่างกันไป แต่ถ้าถามว่าแข่งเรือยาว จังหวัดอะไรโดดเด่นที่สุด คงหนีไม่พ้นจังหวัดน่าน ประมาณปลายเดือนกันยายนของทุกปีก็เริ่มได้ยินข่าวกันแล้ว ที่จังหวัดน่านจะมีประเพณีแข่งเรือควบคู่ไปกับประเพณีตานก๋วยสลากหรือประเพณีถวายทานสลากภัต รับรองว่าจะประทับใจกับวัฒนธรรมล้านนาตามแบบฉบับเมืองน่านแน่นอน

ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง

ถือว่าเป็นภาคที่จัดประเพณียิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติเรือยาว และมีการจัดแข่งขันแทบทุกจังหวัด แต่ที่เด็ดสุดขอแนะนำประเพณีแข่งเรือของจังหวัดพิจิตร ที่นี่จะมีขบวนเรือพระราชพิธีและขบวนลำเรือล่องผ่านลำน้ำน่านเป็นร้อยลำ ยิ่งใหญ่อลังการและงดงามจับใจ ทั้งยังมีกิจกรรมเฉลิมฉลองให้ร่วมสนุกอีกมากมาย รองลงมาจะเป็นจังหวัดพิษณุโลกและนครสวรรค์ แต่ถ้าใครอยากสัมผัสการอนุรักษ์วิธีการแข่งเรือยาวแบบท้องถิ่น ก็ต้องไปประเพณีแข่งพายเรือม้าที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแทน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เนื่องจากทางภาคอีสานจะไม่ค่อยมีลำน้ำขนาดใหญ่ไหลผ่าน จึงไม่ค่อยมีใครนึกถึงเมื่อตั้งคำถามว่า ประเพณีแข่งเรือ ภาคอะไร แต่รู้หรือไม่ว่าภาคที่ดูเหมือนจะแห้งแล้งนี้ ก็มีประเพณีแข่งเรือยาวที่น่าสนใจอยู่ด้วยเหมือนกัน ทั้งยังเป็นกีฬาเสริมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านด้วย เรียกว่า ประเพณีแข่งเรือยาวไทย-ลาว-เวียดนาม และเมื่อการแข่งขันจัดขึ้นในลำน้ำโขง จึงมีความเชื่อของแต่ละที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กิจกรรมภายในงานจึงมีสีสันมาก ใครเป็นสายบุญห้ามพลาดทีเดียว

ภาคใต้

ประวัติเรือยาวที่สำคัญก็คือประเพณีชักพระที่แม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งจะมีกำหนดวิธีการแข่งเรือยาวตามแบบฉบับทางใต้ขึ้นมาด้วย ก่อนการแข่งขันจะมีขบวนแห่ตระการตา เพื่อให้คนทั่วไปได้ชื่นชมและนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มากับเรือแต่ละลำ การแข่งขันที่นี่ค่อนข้างเร้าใจและกินเวลายาวนาน แถมยังมีกิจกรรมอื่นที่ทุกคนสามารถร่วมสนุกด้วยได้ เช่น การแข่งขันขว้างโคลน การประกวดขวัญใจชาวเรือ เป็นต้น

sportyrelax เว็บไซต์รวมกีฬา ข่าวสารสาระเกี่ยวกับ กีฬารอบโลก

KINGNBA อัพเดทข่าวสารวงการกีฬาบาสเกตบอล ผลบาส ผลบาสทั่วโลก