กติกาคาราเต้ การต่อสู้มือเปล่าที่ถูกนำมาเป็นกีฬาชื่อดังระดับโลก

กติกาคาราเต้

หากกล่าวถึงกีฬาประจำชาติญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พร้อมกีฬาคาราเต้ หรือ คาราเต้โด ซึ่งนับว่าเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีทั้งท่วงท่าที่สวยงาม แข็งแรง จนถูกนำมาเป็นกีฬาและจัดการแข่งขันในรายการเล็กใหญ่จนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนไปดู กติกาคาราเต้ ว่าปัจจุบันกติกาการแข่งขันของกีฬาชนิดนี้เป็นอย่างไรบ้าง รวมไปถึงประวัติความเป็นมาของกีฬาชนิดนี้อีกด้วย

เปิดประวัติคาราเต้ ศิลปะการต่อสู้มือเปล่าอันโด่งดัง

ก่อนที่จะไปดู กติกาคาราเต้ เราอยากพาทุกคนไปรู้จักกับ ประวัติกีฬาคาราเต้ กันก่อน ซึ่งก็คงต้องย้อนกันไปไกลสักหน่อย โดยกีฬาชนิดนี้นับว่าเป็นศิลปะการต่อสู้ที่คาดว่าจะถือกำเนิดขึ้นที่เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ราวปี ค.ศ.1921 โดยเป็นการผสมผสานกันระหว่างศิลปะการต่อสู้ของท้องถิ่นเขากับการต่อสู้ของชาวจีนฮกเกี้ยน 

กระทั่งในปี ค.ศ.1922 ฟูนาโกชิ กิชิน ก็ได้มีการพัฒนาคาราเต้และเผยแพร่ศิลปะการต่อสู้นี้สู้ชาวญี่ปุ่น จนใจปี ค.ศ.1948 ก็ได้มีการก่อตั้งโรงฝึกที่มีชื่อว่า โชโตกัน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น Japan Karate Association ตั้งอยู่ที่ เขตบุงเกียว เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

คาราเต้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

หลายคนคงเคยสงสัยว่า คาราเต้โด มีกี่ประเภท จริง ๆ แล้วการแข่งขันคาราเต้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ด้วยกันคือ คุมิเต้ การต่อสู้แบบตัวต่อตัว และ คาตะ การแสดงทักษะและเทคนิค โดยแต่ละสำนักก็จะมีคาตะต่างกันไปอยู่ที่ว่าสืบทอดมาจาก โอะกินะวะ-เต้ ชนิดใดนั่นเอง 

  1. คุมิเต้แบ่งการแข่งขันมี 3 รูปแบบ
  2. แบบสำนัก JKA (Japan Karate Association) 
  3. แบบสากล WKF (World Karate Federation) 
  4. แบบฟูลคอนแทค นิยมแข่งในหมู่สำนักที่มาจากเคียวคุชินคาราเต้ ซึ่งจะเป็นการต่อสู้ที่สามารถโจมตีใบหน้าด้วยการเตะ และเข่าเท่านั้น
  5. การแข่งขันแบบคาตะ คือการแข่งขันศิลปะหรือท่าทางการต่อสู้ที่โดดเด่นของแต่ละสำนัก

วิธีการเล่น และกติกาคาราเต้

สำหรับ วิธีการเล่นคาราเต้ หรือกติกาของคาราเต้นั้นก็คงต้องบอกว่ามีความซับซ้อนอยู่ไม่น้อย เพราะอย่างที่เราได้กล่าวไปว่า การต่อสู้คาราเต้เป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ ดังนั้นจึงจะมีการแข่งขันทั้งรูปแบบสากล และการแข่งขันเฉพาะของแต่ละสำนัก

  • การแข่งขันประเภทคาตะ
  1. แข่งขันประเภททีมสมาชิก 3 คน หญิงล้วนและชายล้วน และประเภทบุคคล 
  2. ผู้แข่งขันต้องใช้ทั้งท่าบังคับและท่าอิสระ และต้องเป็นท่าที่ได้รับการยอมรับจากสหพันธ์คาราเต้แห่งโลก (WKF) 
  3. ใน 2 รอบแรกจะไม่อนุญาตให้ใช้ท่าอื่นที่ไม่ได้รับการอนุญาต และซึ่งจะมีระบุไว้อย่างชัดเจนก่อนเริ่มแข่งขัน
  4. ในแต่ละรอบของการแข่งผู้แข่งจะไม่สามารถแสดงคาตะ (ท่าทาง) ซ้ำได้
  • การแข่งขันประเภทคุมิเต้
  1. กติกาการแข่งขันแบบสากล แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ แดง และน้ำเงิน 
  2. ในการแข่งขันจะมีกรรมการทั้งหมด 4 คน (อยู่ในการควบคุมของกรรมการชุดใหญ่อีกที) แบ่งเป็นกรรมการธง 3 คนอยู่รอบขอบสนาม กรรมการชี้ขาดในสนาม 1 คน (คล้ายมวย) และกรรมการจดบันทึกหน้าโต๊ะกรรมการอีก 1 คน
  3. การแข่งขันประเภทชายจะใช้เวลาในการแข่ง 3 นาที และประเภทหญิง, เด็ก หรือผู้ฝึกใหม่ จะใช้เวลาแข่งขัน 2 นาที
กติกาคาราเต้

การนับคะแนนคาราเต้

อย่างที่เราได้กล่าวไปในข้างต้นว่า คาราเต้แบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ประเภท คือ คุมิเต้และคาตะ และการแข่ง คาราเต้ นับคะแนนยังไง ในเมื่อการแข่งทั้ง 2 แบบมีรูปแบบการแข่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่จริง ๆ แล้ววิธีการให้คะแนนแบ่งออกเป็นดังนี้

  • การนับคะแนนคุมิเต้
  1. การแข่งคุมิเต้จะให้คะแนนแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ IPPON 3 คะแนน, WAZARI 2 คะแนน และ YUKO 1 คะแนน
  2. IPPON จะได้จากการเตะเข้าไปที่ช่วงบน, ใบหน้า, หัว หรือการเข้าไปซ้ำคู้ต่อสู้ที่ล้มลง
  3. WAZARI จะได้จากการเตะเข้าที่บริเวณลำตัว
  4. YUKO จะได้จากการชกไปที่บริเวณลำตัวและส่วนหัว
  5. หากทำ 8 แต้มได้ก่อน หรือได้คะแนนสูงกว่าอีกฝ่ายหลังจากหมดเวลาก็จะเป็นผู้ที่ชนะ
  • การนับคะแนนคาตะ
  1. เกณฑ์การให้คะแนนมี 5 เกณฑ์
  2. ความถูกต้องของท่ายืน
  3. ความเข้าใจในเทคนิคที่นำมาใช้
  4. การกำหนดลมหายใจระหว่างการออกท่วงท่า
  5. ความยากง่ายของท่า
  6. จังหวะ ความแข็งแกร่ง ความสมดุล และพละกำลังของผู้แข่งขัน

การแบ่งระดับของคาราเต้

ก่อนที่จะจากกันไปในวันนี้ เราอยากพาทุกคนไปดูกันว่า คาราเต้มีสายไหนบ้าง โดยการแบ่งสายของคาราเต้จะจะมีความแตกต่างกันไปของแต่ละสำนัก และสมาคม โดยในไทยจะมี 2 สมาคมหลัก ๆ ด้วยกัน คือสมาคมไทย-ญี่ปุ่น โชโตกันคาราเต้ (ประเทศไทย) และ สมาคมคาราเต้โดโกจูไก (ประเทศไทย) และแบ่งสายออกเป็น 2 ระดับคือ คิว (Kyu) ใช้เรียกสายในระดับสี และ ดั้ง (Dan) ใช้เรียกระดับสายดำที่จะมีตั้งแต่ 1 – 10 

  • สมาคมไทย-ญี่ปุ่น โชโตกันคาราเต้ (ประเทศไทย)
  1. 10kyu สายขาว (ระดับเริ่มต้น)
  2. 9 kyu สายขาว
  3. 8kyu สายขาว
  4. 7 kyu สายเหลือง
  5. 6 kyu สายเหลือง
  6. 5kyu สายเขียว
  7. 4kyu สายฟ้า
  8. 3kyu สายน้ำตาล
  9. 2kyu สายน้ำตาล
  10. 1kyu สายน้ำตาล
  11. 1-10Dan สายดำ (10 Dan ระดับสูงสุด)
  • สมาคมคาราเต้โดโกจูไก (ประเทศไทย)
  1. 10kyu สายขายปลายเหลือง (ระดับเริ่มต้น)
  2. 9kyu สายเหลือง
  3. 8kyu สายเหลืองปลายเขียว
  4. 7kyu สายเขียว
  5. 6kyu สายเขียวปลายฟ้า
  6. 5kyu สายฟ้า
  7. 4kyu สายฟ้าปลายน้ำตาล
  8. 3kyu สายน้ำตาล
  9. 2kyu สายน้ำตาลปลายดำ1
  10. 1kyu สายน้ำตาลปลายดำ2
  11. 1-10Dan สายดำ (10 Dan ระดับสูงสุด)

sportyrelax เว็บไซต์รวมกีฬา ข่าวสารสาระเกี่ยวกับ กีฬารอบโลก

KINGNBA อัพเดทข่าวสารวงการกีฬาบาสเกตบอล ผลบาส ผลบาสทั่วโลก